สุนัขญี่ปุ่น (日本犬) ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นถือเป็นสุนัขญี่ปุ่นพันธุ์แท้ เพราะเป็นสุนัขพื้นเมืองที่เติบโตในญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งมีอยู่หกสายพันธุ์ ได้แก่ อาคิตะอินุ (秋田犬), ไคเค็นอินุ (甲斐犬), คิชูอินุ (紀州犬), ชิบะอินุ (柴犬), ชิโกกุอินุ (四国犬) และ ฮอกไกโดอินุ (北海道犬) โดยสุนัขหกสายพันธุ์แท้ญี่ปุ่นเหล่านี้ได้รับเกียรติกำหนดวันให้เป็นตัวแทนแห่งอนุสรณ์สถานธรรมชาติ (天然記念物) และตั้งแต่นั้นมาทั้งหกสายพันธุ์ก็ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่น
สายพันธุ์ | ประเภท | วันที่กำหนดให้เป็นอนุสรณ์สถานธรรมชาติ |
อาคิตะอินุ(秋田犬) | ขนาดใหญ่ | 31 กรกฎาคม 1931 (โชวะปีที่ 6) |
ไคเค็นอินุ (甲斐犬) | ขนาดกลาง | 22 มกราคม 1934 (โชวะปีที่ 9) |
คิชูอินุ (紀州犬) | ขนาดกลาง | 1 พฤษภาคม 1934 (โชวะปีที่ 9) |
ชิบะอินุ (柴犬) | ขนาดเล็ก | 16 ธันวาคม 1936 (โชวะปีที่ 11) |
ชิโกกุอินุ (四国犬) | ขนาดกลาง | 15 มิถุนายน 1937 (โชวะปีที่ 12) |
ฮอกไกโดอินุ (北海道犬) | ขนาดกลาง | 21 ธันวาคม 1937 (โชวะปีที่ 12) |
สุนัขญี่ปุ่น (日本犬) จะหมายถึงเฉพาะสายพันธุ์สุนัขพื้นเมืองหกชื่อดังตารางข้างต้นตามมาตรฐานสุนัขญี่ปุ่นที่จัดตั้งขึ้นโดยสมาคมอนุรักษ์สุนัขญี่ปุ่น (日本犬保存会) ในปี 1934 โดยสุนัขหกสายพันธุ์แบ่งออกเป็นสามประเภท ได้แก่ ใหญ่ กลาง เล็ก ตั้งแต่ปี 1931 (โชวะปีที่ 6) ถึงปี 1937 (โชวะปีที่ 12) สุนัขสายพันธุ์แต่ละตัวถูกกำหนดให้เป็นอนุสรณ์สถานธรรมชาติโดยกระทรวงศึกษาธิการ แต่ภายหลังสงครามแปซิฟิก (太平洋戦争) ภาครัฐได้มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการศึกษาประจำจังหวัดในการจัดการดูแลพวกเขา
ตั้งแต่ยุคเมจิไปจนถึงยุคต้นโชวะเมื่อจำนวนสุนัขในญี่ปุ่นเริ่มแออัดมากขึ้น เนื่องจากการนำเข้ามาของสุนัขตะวันตกและพัฒนาการด้านการขนส่ง ทำให้สุนัขญี่ปุ่นพันธุ์พื้นเมืองถูกคุกคามด้วยการค่อยๆ ลดจำนวนลงเกือบสูญพันธุ์ตั้งแต่สมัยยุคเมจิ (明治) เพราะสุนัขนำเข้าถูกนำมาใช้เพื่อการผสมพันธุ์กับสุนัขญี่ปุ่นทั่วประเทศภายใต้กระแสสากลนิยม ในช่วงท้ายของยุคไทโช (大正) สุนัขญี่ปุ่นพันธุ์พื้นเมืองบริสุทธิ์เกือบสูญพันธุ์ไป
ในเวลานั้นเองนายฮิโระชิจิ ไซโตะ (斎藤弘吉) นักวิจัยสุนัขชาวญี่ปุ่นและนักวิจัยโบราณวัตถุญี่ปุ่น ผู้รู้สึกถึงอันตรายในสถานการณ์นี้จึงเรียกร้องต่อสมาคมเพื่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและสถานที่ทางประวัติศาสตร์ภายใต้กระทรวงมหาดไทยให้ฟื้นฟูสุนัขญี่ปุ่นและก่อตั้งสมาคมอนุรักษ์สุนัขญี่ปุ่น (日本犬保存会) ในเดือนมิถุนายนปี 1928 รวมทั้งพัฒนากระบวนการอนุรักษ์ด้วยการกำหนดให้เป็นอนุสรณ์สถานธรรมชาติ (天然記念物) ตั้งแต่ปี 1931 (โชวะปีที่ 6) ถึงปี 1937 (โชวะปีที่ 12)
สงครามแปซิฟิกตอนปลายเมื่อสุนัขต้องถูกฆ่าเพื่อเอาเนื้อมากินและเอาขนมาทำเสื้อผ้าเนื่องจากขาดเสบียง และนี่เป็นครั้งที่สองที่สุนัขญี่ปุ่นต้องทนทุกข์ทรมาน แต่ด้วยความรักและความพยายามของอาสาสมัคร เลือดของสุนัขญี่ปุ่นสายพันธุ์พื้นเมืองบริสุทธิ์จึงได้รับการสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องจวบจนทุกวันนี้
ขอบคุณภาพจาก : https://www.min-petlife.com , https://japaneseclass.jp