คะมง (家紋・Kamon) หรือตราประจำตระกูล มีความสำคัญกับคนญี่ปุ่นอย่างไร ?
อาจกล่าวได้ว่า ตราประจำตระกูล เป็นวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นซึ่งอยู่คู่กับสังคมญี่ปุ่นมาตั้งแต่โบราณ โดยต้นกำเนิดของตราประจำตระกูลของครอบครัวได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายยุคสมัยเฮอัน (Heian) หรือก่อนสมัยสุโขทัยของเรากันเลยทีเดียว เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับความเป็นมา ความคิดอันสร้างสรรค์ และความหมายที่ลึกซึ้งแอบซ่อนอยู่ในการออกแบบอันเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ช่างดูยิ่งใหญ่นี้กันคร้าบบผม…
ตราประจำตระกูล ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นตัวแทนของวงศ์ตระกูลหรือครอบครัว บ่งบอกสถานะของตัวเอง ความเป็นพวกเดียวกัน การสืบสายเลือด การแสดงอำนาจ ระบุชนชั้น กำหนดหน้าที่ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับตราประจำตระกูลในสังคมยุโรปในอดีตเช่นกัน แต่สังคมญี่ปุ่นนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงกว้างมากกว่าสังคมยุโรป โดยมีประมาณ 241 ตราหรือมากกว่า 5,116 ครอบครัว และได้รับการยืนยันจากวงศ์ตระกูลหรือครอบครัวในปี ค.ศ. 1475 ว่ามีทั้งสิ้นเกือบ 20,000 ครอบครัวเลยนะครับ
การถือกำเนิดและการพัฒนาของตราประจำตระกูล
ต้นกำเนิดของตราประจำตระกูลหรือสัญลักษณ์ตัวแทนของครอบครัวเริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายยุคสมัยเฮอัน (Heian) ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นยังไม่ได้ถูกเรียกว่าเป็นตราประจำตระกูล กล่าวคือ ในยุคสมัยนารา (Nara) ยุคเฟื่องฟูของเหล่าบรรดาขุนนางชนชั้นสูงที่มีตระกูลและมีอำนาจโดดเด่น ได้แก่ ตระกูลขุนนาง 源氏 (Genji), ตระกูลขุนนาง 平氏 (Heishi หรือ Taira), ตระกูลขุนนาง 藤原氏 (Fujiwara) และตระกูลขุนนาง 橘氏 (Tachibana) ซึ่งถูกเรียกรวมกันว่า ” 源平藤橘 (Genpei toukitsu)” มีการวาดลวดลายต่างๆ ที่มีความหลากหลายอย่างมากแต่ดูเรียบง่ายไม่ซับซ้อน นำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์การตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีลวดลายเฉพาะของแต่ละบ้านแต่ละครอบครัวที่ไม่ซ้ำกัน ต่อมาถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดี วาดประดับไว้บนรถลากของเหล่าขุนนางเพื่อความเป็นสิริมงคล อวยพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ซึ่งนิยมใช้กันแต่เฉพาะในหมู่ชนชั้นปกครองเท่านั้น ก่อนที่จะเริ่มมีการดีไซน์สร้างสรรค์ลวดลายแบบใหม่ๆ เข้าสู่ยุคคามาคูระ (Kamakura) เพื่อสร้างความแตกต่างจากครอบครัวอื่นอย่างชัดเจน ทั้งเรื่องของความหมายและบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้ในใบรับรองตราประจำตระกูล อันเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง จนกลายเป็นความนิยมและนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของครอบครัวหรือตราประจำตระกูลในที่สุด
ตระกูลขุนนางเกนจิ (源氏・Genji) เป็นตระกูลที่มีชื่อนามสกุลว่า “คะบะเนะ (カバネ・Kabane)” หมายถึงดวงอาทิตย์ยามเช้า เป็นหนึ่งในผลงานชิ้นเอกที่มีชื่อเสียงอย่างมากของญี่ปุ่น และมีการสร้างโรงเรียนเพื่อลูกหลานของจักรพรรดิเซอิวะ (Seiwa Genji) ผู้มีชื่อเสียงไว้อีกหลายแห่ง
ตระกูลขุนนางเฮชิหรือไทระ (平氏・Heishi หรือ Taira) เป็นตระกูลที่มีชื่อนามสกุลว่า “คะบะเนะ (カバネ・Kabane)” หมายถึงดวงอาทิตย์ยามเช้า เช่นเดียวกันกับตระกูลขุนนางเกนจิ แต่ลวดลายตราประจำตระกูลจะเป็นรูปผีเสื้อที่กำลังลอกคราบ ให้ความหมายของการเริ่มต้นใหม่ การเกิดใหม่ นั่นเอง ขุนนางที่มีชื่อเสียงคือ นายฮาคุตะเกะ ไทระ (Hakutake Taira) เป็นหนึ่งในสมาชิกที่มีชื่อเสียงของพระราชวงศ์ในประเทศญี่ปุ่น และได้สร้างโรงเรียนไว้ 4 แห่งด้วยกัน
ตระกูลขุนนางฟูจิวาระ (藤原氏・Fujiwara) เป็นตระกูลที่มีชื่อว่า “ฟูจิวาระ (藤原・Fujiwara)” โดยมีชื่อย่อว่า “โทชิ (Toushi)” เป็นตระกูลที่มีความเชื่อว่าบรรพบุรุษของเขาคือ ฟูจิวาระ โนะ คาตามาริ (藤原 鎌足・Fujiwara No Katamari) เป็นผู้สืบเชื้อสายจากตระกูลของพระเจ้าที่เรียกว่า “ชินเบทสึ ชิโซคุ (神別氏族・Shinbetsu Shizoku)” และในยุคสมัยอาซุกะ (飛鳥時代・Asuka) ช่วงปี ค.ศ. 592-710 ได้ปรากฎชื่อนามสกุลของตระกูลนี้ว่า “อาโซมิ (朝臣・Asomi)” เป็นตระกูลที่มีการดำเนินธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ด้วยการสร้างบ้านเรือนสาธารณะเป็นจำนวนมากมายจนมาถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งมีสาขาอยู่ทั่วประเทศญี่ปุ่น อันเป็นธุรกิจกำลังสำคัญของวงศ์ตระกูลมานานกว่า 1,200 ปี
ตระกูลขุนนางทะจิบานะ (橘氏・Tachibana) เป็นตระกูลที่มีชื่อว่า “ทะจิบานะ (橘・Tachibana)” โดยมีนายทะจิบานะ ซันเซอิ (橘三千・Tachibana Sansei) และนายคะทสึรางิ โอซากิ (葛城王・Katsuragi Ozaki) พี่น้องตระกูลทะจิบานะ (Tachibana) เป็นตระกูลบรรพบุรุษ และในยุคปลายสมัยอาซุกะ (飛鳥時代・Asuka) ช่วงปี ค.ศ. 592-710 ได้ปรากฎชื่อนามสกุลของตระกูลนี้ว่า “อาโซมิ (朝臣・Asomi)” และต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนเสียงอ่านเป็น “อาซะกุซะ (Asakusa)
การผันสู่ความเป็นสัญลักษณ์ของสังคมชาวซามูไร
จวบจนกระทั่งปลายสมัยเฮอัน (Heian) การออกแบบลวดลายเริ่มมีความหลากหลายอย่างมาก และเริ่มชัดเจนขึ้นในท่ามกลางความขัดแย้งระหว่าง 2 ตระกูลใหญ่ในสมัยนั้น ได้แก่ ตระกูลเกนจิ และตระกูลเฮชิหรือไทระ ซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของวัตถุประสงค์การใช้ตราประจำตระกูลในหมู่ครอบครัวซามูไรว่า เพื่อเป็นการบ่งบอกความเป็นกลุ่ม สร้างความแตกต่างระหว่างพวกพ้องและศัตรู แม้กระทั่งคนในตระกูลเดียวกันก็ตาม ก่อให้เกิดรูปลักษณะตราที่แตกต่างกันไปอย่างมากมาย ทำให้การเลือกใช้ตราจึงเป็นไปอย่างอิสระ และไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ทางสายเลือดอีกต่อไป สืบเนื่องไปจนถึงยุคสมัยคามาคูระ (Kamakura) ตอนกลาง จนกลายเป็นวัฒนธรรมของวงศ์ตระกูลของครอบครัวที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและชัดเจนในสังคมซามูไร ที่จะยกระดับศิลปะการต่อสู้ในสนามรบเพิ่มขึ้นจากความแตกต่างในหมู่เพื่อนหรือศัตรูด้วยตราสัญลักษณ์ประจำตระกูลที่ใส่ลงในทุกประเภท เช่น ธงประจำตระกูล ฝักดาบประจำตระกูล เสื้อเกราะ เป็นต้น
เมื่อมาถึงยุคนันโบคุโจ (Nanbokucho) ช่วงปีค.ศ. 1336-1394 ปรากฎการเย็บลวดลายตราประจำตระกูลประดับลงที่แขนเสื้อและบนเสื้อชั้นนอกหรือเสื้อคลุมที่เรียกว่า Kataginu ของชุด Hakama ซึ่งถือเป็นชุดทางการ (Formalwear) ของซามูไรที่ใช้สวมใส่เมื่อต้องเข้าร่วมงานพิธีหรือการเข้าพบโชกุน
และเมื่อเข้าสู่ช่วงเซนโงคุ (Sengoku) ช่วงปีค.ศ. 1485-1496 การต่อสู้ระหว่างครอบครัวเดียวกันมีเพิ่มมากขึ้น และเพื่อให้ง่ายต่อการแยกความแตกต่างระหว่างศัตรูและพันธมิตร รูปแบบลวดลายของตราประจำตระกูลก็เริ่มแพร่หลายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกันนับจากช่วงนี้เป็นต้นไป
การผันเปลี่ยนจากซามูไร สู่ความเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางชนชั้นสังคม
ในยุคสมัยเอโดะ (โตเกียว) ซึ่งเป็นสมัยที่สงครามสงบลง สงครามที่รุนแรงโดยซามูไรเกือบจะหายไปโดยสิ้นเชิงภายใต้การปกครองที่มีเสถียรภาพของตระกูลโทคุงะวะ (Tokugawa) ตราประจำตระกูลจึงเปลี่ยนสถานะไปมีบทบาทในเชิงอำนาจ ใช้ในการบ่งบอกสถานะทางชนชั้นทั้ง 4 ในสังคม ได้แก่ ซามูไร ชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า โดยเรียงจากความสำคัญมากไปหาน้อยตามลำดับ ทำให้สถานะของผู้อาวุโสแต่ละชนชั้นถูกแบ่งออกอย่างชัดเจนด้วยวัตถุประสงค์ของตราประจำตระกูล คือมีการแก้ไขชุดของบุคคลหรือครอบครัวตามอัตลักษณ์และครอบครัวของคู่สมรสด้วยเพื่อแสดงตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่ง
นอกจากนี้ ชนชั้นคนทั่วไปในญี่ปุ่นยังแสดงความเป็นเจ้าของด้วยการใช้ตราประจำตระกูลอย่างกว้างขวาง ครอบครัวชาวนา ชาวเมืองและนักแสดงนักร้องหญิงโสเภณี ฯลฯ ซึ่งเป็นชนชั้นล่างของสังคม ก็ได้รับเสรีภาพในการใช้ตราประจำตระกูลเช่นกัน ซึ่งเป็นจุดที่ขัดแย้งกับสังคมในประเทศยุโรปที่จำกัดเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้น เช่น ขุนนางชั้นสูงที่ได้รับอนุญาตตราสัญลักษณ์ของครอบครัว
ในสมัยเอโดะ ยังมีการสวมใส่ชุดเกราะของครอบครัวไว้ในชุดเสื้อผ้า เช่นชุด “Haori” และ “Kimono” และเสื้อผ้าปกติ แต่เมื่อเข้าสู่ยุคเกนโรคุ (元禄・Genroku) ในช่วงปี ค.ศ. 1688-1704 การแต่งกายของผู้คนทั่วไปค่อยๆ ดูสวยสง่าขึ้นด้วยการประดับลายตราประจำตระกูลดังตัวอย่างของตระกูล Toyotomi Hideyoshi ที่เรียกว่า “Gosangiri” เป็นที่ชื่นชอบของชนชั้นชาวสามัญเป็นอย่างยิ่ง
โดยลวดลายที่หลากหลายนั้นออกแบบมาจากส่วนประกอบของดอกไม้และใบไม้ร่วมกันที่ถูกจัดไว้ในรูปแบบอันงดงามและสง่างาม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่ตราประจำตระกูลของครอบครัวกลายเป็นสมดุลของครอบครัวที่หล่อหลอมเข้าด้วยกันของธรรมชาติและวัฒนธรรมอย่างลงตัวจนได้รับการขนานนามว่าเป็น Japonism และใช้สำหรับเป็นภาพเขียนต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
ลักษณะโดยทั่วไปของตราประจำตระกูล
ตราประจำตระกูลโดยพื้นฐานมักถูกคิดดีไซน์ขึ้นและอ้างอิงมาจากสิ่งรอบตัวอย่างมีเหตุมีผล ซึ่งส่วนใหญ่มักจะสะท้อนความคิดใน 3 เรื่องของผู้ใช้หรือตระกูลที่ยึดถือตรานั้นๆ และส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น ได้แก่ “ความหวัง ความฝัน และความต้องการ” และมักจะอ้างอิงจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้
- จากธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ดอกไม้ ใบไม้ เป็นต้น
- จากสัตว์ เช่น กวาง แมลง เป็นต้น
- จากความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน
- จากหลักความสมดุลในการออกแบบ
ดังนั้น การออกแบบหรือเลือกตราใดมาใช้ในครอบครัวของตนเอง จึงต้องมีความละเอียดเป็นอย่างมาก ต้องแน่ใจว่าความหมายในตรานั้นๆ เป็นที่เข้าใจร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว โดยยึดถือเป็นเป้าหมาย ความหวัง และความฝันต่างๆ อย่างหนักแน่น อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่กลับสำคัญอย่างมาก ในฐานะชนชั้นทางสังคมญี่ปุ่นโบราณที่มีความยึดเหนี่ยวระหว่างกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันภายในกลุ่มพวกพ้องเป็นอย่างสูง
ตัวอย่างลายประจำตระกูล
แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไป แต่ความสำคัญของตราประจำตระกูลเหล่านี้ ที่มาจากองค์ความรู้ในการออกแบบอย่างปราณีตในความคิด ได้กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “เอกลักษณ์ของครอบครัว” และเป็นองค์ประกอบสำคัญแทนนามสกุลของวงศ์ตระกูลที่บ่งบอกถึงประวัติความเป็นมาอันช้านาน ซึ่งยังคงปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าเราจะเดิน จะมองไปทางไหน เป็นต้องมีตราที่แสนเรียบง่ายแต่งดงามผ่านเข้ามาในสายตาเสมือนเป็นสัญลักษณ์หรือโลโก้อันทรงเกียรติที่แสดงตามสถานที่สำคัญต่างๆ อย่างไม่ซ้ำกัน
ขอบคุณภาพจาก https://ja.wikipedia.org, Japanology.Medium, www.yahoo.co.jp