บทที่ 2 โครงสร้างรูปประโยคพื้นฐานภาษาญี่ปุ่น

ประโยคในภาษาญี่ปุ่นมีการเรียงลำดับของคำในรูปประโยคดังนี้คือประธาน กรรม และกริยา โดยประธาน กรรม และส่วนอื่นๆในประโยคจะมี คำช่วย เพื่อบ่งบอกหน้าที่ของคำนำหน้า
โครงสร้างรูปประโยคพื้นฐาน

ประโยคในภาษาญี่ปุ่น  มีการเรียงลำดับของคำในรูปประโยคดังนี้คือ  ประธานกรรม และกริยา  โดยประธาน กรรม และส่วนอื่นๆ ในประโยคจะมี “คำช่วย” กำกับอยู่เพื่อบ่งบอกหน้าที่ของคำที่นำหน้า

โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาญี่ปุ่น  สามารถสรุปได้ดังนี้

โครงสร้างประโยค

กรณีมีคำขยายภาคประธานหรือภาคแสดง  จะวางคำขยายไว้หน้าภาคประธานหรือภาคแสดงนั้นๆ  กล่าวคือ

โครงสร้างประโยค

และสามารถแบ่งเป็นรูปประโยคพื้นฐานได้ดังนี้

  • รูปประโยคบอกเล่า
  • รูปประโยคปฎิเสธ
  • รูปประโยคคำถาม
1)  รูปประโยคบอกเล่า (平叙文 / Heijobun)

ใช้อธิบายสิ่งที่พูดหรือหัวเรื่องนั้นว่าคืออะไร  จะประกอบด้วยหัวเรื่องและส่วนอธิบาย ตัวอย่างเช่น

รูปประโยคบอกเล่า

ข้อสังเกต : 

① ภาษาญี่ปุ่นมักจะระบุหัวเรื่องของประโยคแยกออกจากประธาน กล่าวคือ หัวเรื่องของประโยคไม่จำเป็นต้องเป็นประธานของประโยคเสมอไป  ตัวอย่างเช่น

รูปประโยคบอกเล่า

②  ภาษาญี่ปุ่นมักจะละคำเสมอ  กล่าวคือ มักจะมีการละประธานหรือกรรมของประโยคที่ยังสามารถเข้าใจความหมายหรือเรื่องราวในประโยคอยู่  นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังรู้สึกว่าประโยคที่สั้นๆ ดีกว่าประโยคยาวๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาพูด  ดังนั้นชาวญี่ปุ่นจึงมักจะละคำต่างๆ ในประโยคมากกว่าจะอ้างถึงมันด้วย คำสรรพนาม  ตัวอย่างเช่น  จากประโยคตัวอย่างข้างต้น  mimi ga nagai  ก็แปลได้ว่า “หู (ของกระต่าย) ยาว” โดยที่ไม่ต้องระบุหัวเรื่องของประโยคหากเป็นที่เข้าใจตรงกันว่ากำลังกล่าวถึงกระต่าย

③  ในโครงสร้างประโยคภาษาญี่ปุ่น จะอ่านคำช่วย “は” ว่า “วะ (wa)”  ไม่ใช่ “ฮะ (ha)”

④  ในภาษาญี่ปุ่นเมื่อจะเรียกชื่อบุคคลอื่น จะเติมคำว่า さん (san) ต่อท้ายของชื่อบุคคลนั้นด้วยเสมอเพื่อแสดงความสุภาพและเป็นการให้เกียรติต่อกันโดยจะเรียกด้วย นามสกุล   ส่วนการเรียกด้วยชื่อนั้น จะใช้เรียกกันภายในครอบครัวหรือในหมู่เพื่อนฝูงที่มีความสนิทสนมกันอย่างมาก

สรุปหัวใจหลักของรูปประโยคบอกเล่า
รูปประโยคบอกเล่า

ตัวอย่าง

รูปประโยคบอกเล่า
รูปประโยคบอกเล่า
2)  รูปประโยคปฎิเสธ (否定文 / Hiteibun)

ใช้เมื่อต้องการปฏิเสธสิ่งที่พูดหรือหัวเรื่องนั้นๆ  โดยการเปลี่ยนจาก   です => では ありません (dewa arimasen)  ซึ่งเป็นภาษาเขียนในรูปปฏิเสธของ です และ รูปที่ใช้พูดในชีวิตประจำวันนั้นจะเปลี่ยนเป็นคำว่า  じゃありません (Ja arimasen)  หรือ じゃないです (Ja nai desu)  ตัวอย่างเช่น

รูปประโยคปฎิเสธ
รูปประโยคปฎิเสธ
สรุปหัวใจหลักของรูปประโยคปฏิเสธ
รูปประโยคปฎิเสธ

ตัวอย่าง

รูปประโยคปฎิเสธ
รูปประโยคปฎิเสธ
3)  รูปประโยคคำถาม (疑問文 Gimonbun)

รูปประโยคจะเหมือนกับประโยคบอกเล่า เพียงแค่ใส่คำช่วย  ลงท้ายประโยค ก็จะเปลี่ยนเป็นประโยคคำถามทันที เพื่อใช้ถามว่าใช่หรือไม่  และใช้ถามเมื่อผู้พูดมีความรู้สึกไม่แน่ใจ หรือมีความรู้สึกสงสัย เป็นต้น โดยให้ออกเสียงเป็นเสียงสูงที่ท้ายประโยค ตัวอย่างเช่น

  1. あなた は 中国人(ちゅうごくじん) ですか。 Anata wa Chuugokujin desu ka.  คุณเป็นคนจีนใช่หรือไม่คะ
  • はい、中国人(ちゅうごくじん) です。           Hai, Chuugokujin desu.  ใช่คะ (ฉัน) เป็นคนจีนคะ
  • いいえ、中国人(ちゅうごくじん) ではありません。   Iie, Chuugokujin dewa arimasen.  ไม่ใช่คะ (ฉัน) ไม่ใช่คนจีนคะ

หมายเหตุ :   ですか (desu ka) จะวางไว้ท้ายประโยค เพื่อทำให้เป็นประโยคคำถาม 

  1. あなた は 中国人(ちゅうごくじん) ですか。 Anata wa Chuugokujin desu ka. คุณเป็นคนจีนใช่หรือปล่าวครับ
  • はい、そうです。                                        Hai, sou desu.  ใช่แล้วครับ (ผมเป็นคนจีนครับ)
  • いいえ、日本人(にほんじん)です。              Iie, Nihonjin desu.  ไม่ใช่ (ผม) เป็นคนญี่ปุ่นครับ
  • いいえ、違(ちが)います。                            Iie, chigaimasu.  ไม่ใช่ครับ (ผมไม่ใช่คนจีนครับ)

หมายเหตุ :    * เมื่อตอบรับ  สามารถตอบรับได้  2 รูปแบบดังนี้

「はい、 คำนาม  は คำนาม です。(Hai,  คำนามwa  คำนามdesu.) 」

「はい、 そうです。(Hai, sou desu.) 」

                  * เมื่อตอบปฏิเสธ  สามารถตอบปฏิเสธได้  2 รูปแบบดังนี้

「いいえ、 คำนาม  は คำนาม ではありません。(Iie,  คำนาม  wa  คำนาม  dewa arimasen.) 」

「いいえ、 ちがいます。(Iie, chigaimasu.) 」