การพบปะบุคคลซึ่งเคยรู้จักกันมาก่อนและบุคคลอื่นซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก่อนที่จะรู้จักกัน ย่อมจะต้องมีการแนะนำให้รู้จักกัน เพื่อพูดคุยในเรื่องอื่นๆ ต่อไป การแนะนำให้รู้จักกันมีทั้งการ แนะนำตัวเอง และแนะนำผู้อื่น ตัวอย่างเช่น
田中: 鈴木さん、こちらは トニーさんです。
トニー: はじめまして。 トニーです。どうぞよろしくお願いします。
鈴木: 鈴木です。 こちらこそ どうぞよろしくお願いします。
Tanaka : Suzuki-san, kochira wa Tony-san desu.
Tony : Hajimemashite. Tony desu. Doozo yoroshiku onegaishimasu.
Suzuki : Suzuki desu. Kochira koso doozo yoroshiku onegaishimasu.
ทะนะกะ : คุณซูซูกิครับ (ทางนี้คือ) คนนี้คุณโทนี่ครับ
โทนี่ : สวัสดีครับ ผมโทนี่ครับ ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ
ซูซูกิ : ผมซูซูกิครับ สวัสดีครับ ผมก็เช่นกันครับขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ
คำอธิบายเกี่ยวกับการ แนะนำตัวเอง และ ผู้อื่น
鈴木さん、こちらは トニーさんです。 (Suzuki-san, kochira wa Tony-san desu.)
- เป็นสำนวนพื้นฐานที่สุดที่ใช้ในการแนะนำคน
- คำว่า ‘さん (san)’ เป็นคำยกย่องที่ใช้ต่อท้ายชื่อคน มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า Mr./Mrs./Miss ในภาษาอังกฤษ
- คำว่า ‘こちら (kochira)’ มีความหมายตามตัวอักษรว่า “ทางนี้” แต่ในที่นี้ทำหน้าที่เป็นคำสุภาพจึงมีความหมายว่า “บุคคลนี้หรือคนนี้“
- คำว่า ‘は (wa)’ ใช้ตามหลังหัวข้อที่ผู้พูดอยากจะพูดถึง โดยมีคำว่า ‘です (desu)’ เป็นคำลงท้ายของประโยค จะมีความหมายคล้ายกับคำกริยาในภาษาอังกฤษ verb to be “is/am/are” หรือ “เป็น/อยู่/คือ“ ในภาษาไทยนั่นเอง
はじめまして。 (Hajimemashite.)
สำนวนนี้มีความหมายตามตัวอักษรว่า “(ยินดีที่ได้รู้จักคุณ) เป็นครั้งแรก” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษที่ว่า “Nice to meet you.“ หรือเทียบเท่ากับภาษาไทยว่า “สวัสดีคะ/ครับ“ นั่นเอง เพราะในสังคมไทยปกติจะไม่ได้คำนึงถึงว่าเป็นการเจอครั้งแรกหรือไม่ เมื่อได้พบปะกันก็จะทักทายเสมอว่า “สวัสดีคะ/ครับ“ แต่จะไม่พูดว่า “ยินดีที่ได้รู้จัก“ แบบชาวตะวันตก
どうぞよろしくお願いします。 (Doozo yoroshiku onegaishimasu.)
สำนวนนี้มีความหมายตามตัวอักษรว่า “ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยคะ/ครับ“ เป็นสำนวนที่ใช้บ่อยมากโดยมีความหมายในเชิงวัฒนธรรมแฝงไว้ว่า “ดีใจที่ได้พบคุณ กรุณาเอ็นดูฉัน/ผมด้วยนะคะ/ครับ“ ซึ่งในภาษาไทยเราจะไม่มีสำนวนทักทายลักษณะเช่นแบบภาษาญี่ปุ่นนี้
こちらこそ どうぞよろしくお願いします。 (Kochirakoso doozo yoroshiku onegaishimasu.)
ชาวญี่ปุ่นมักจะใช้คำเรียกแทนตัวเองว่า こちら (kochira) ไม่ว่าจะหมายรวมถึงคนในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงานก็ตามที่ผู้พูดรู้สึกว่ามีความเกี่ยวข้องกับตัวเอง ส่วนคำว่า こそ (koso) เป็นคำช่วยสำหรับต่อท้ายคำชนิดต่างๆ เพื่อเน้นย้ำคำนั้นอย่างหนักแน่นสำนวนนี้จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า “(ทางนี้) ฉัน/ผมก็เช่นกันคะ/ครับ ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ/ครับ“
ขอบคุณรูปภาพจาก : www.yahoo.co.jp