โครงสร้างรูปประโยคพื้นฐาน
ประโยคในภาษาญี่ปุ่น มีการเรียงลำดับของคำในรูปประโยคดังนี้คือ ประธานกรรม และกริยา โดยประธาน กรรม และส่วนอื่นๆ ในประโยคจะมี “คำช่วย” กำกับอยู่เพื่อบ่งบอกหน้าที่ของคำที่นำหน้า
โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาญี่ปุ่น สามารถสรุปได้ดังนี้
กรณีมีคำขยายภาคประธานหรือภาคแสดง จะวางคำขยายไว้หน้าภาคประธานหรือภาคแสดงนั้นๆ กล่าวคือ
และสามารถแบ่งเป็นรูปประโยคพื้นฐานได้ดังนี้
- รูปประโยคบอกเล่า
- รูปประโยคปฎิเสธ
- รูปประโยคคำถาม
1) รูปประโยคบอกเล่า (平叙文 / Heijobun)
ใช้อธิบายสิ่งที่พูดหรือหัวเรื่องนั้นว่าคืออะไร จะประกอบด้วยหัวเรื่องและส่วนอธิบาย ตัวอย่างเช่น
ข้อสังเกต :
① ภาษาญี่ปุ่นมักจะระบุหัวเรื่องของประโยคแยกออกจากประธาน กล่าวคือ หัวเรื่องของประโยคไม่จำเป็นต้องเป็นประธานของประโยคเสมอไป ตัวอย่างเช่น
② ภาษาญี่ปุ่นมักจะละคำเสมอ กล่าวคือ มักจะมีการละประธานหรือกรรมของประโยคที่ยังสามารถเข้าใจความหมายหรือเรื่องราวในประโยคอยู่ นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังรู้สึกว่าประโยคที่สั้นๆ ดีกว่าประโยคยาวๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาพูด ดังนั้นชาวญี่ปุ่นจึงมักจะละคำต่างๆ ในประโยคมากกว่าจะอ้างถึงมันด้วย คำสรรพนาม ตัวอย่างเช่น จากประโยคตัวอย่างข้างต้น mimi ga nagai ก็แปลได้ว่า “หู (ของกระต่าย) ยาว” โดยที่ไม่ต้องระบุหัวเรื่องของประโยคหากเป็นที่เข้าใจตรงกันว่ากำลังกล่าวถึงกระต่าย
③ ในโครงสร้างประโยคภาษาญี่ปุ่น จะอ่านคำช่วย “は” ว่า “วะ (wa)” ไม่ใช่ “ฮะ (ha)”
④ ในภาษาญี่ปุ่นเมื่อจะเรียกชื่อบุคคลอื่น จะเติมคำว่า さん (san) ต่อท้ายของชื่อบุคคลนั้นด้วยเสมอเพื่อแสดงความสุภาพและเป็นการให้เกียรติต่อกันโดยจะเรียกด้วย นามสกุล ส่วนการเรียกด้วยชื่อนั้น จะใช้เรียกกันภายในครอบครัวหรือในหมู่เพื่อนฝูงที่มีความสนิทสนมกันอย่างมาก
สรุปหัวใจหลักของรูปประโยคบอกเล่า
ตัวอย่าง
2) รูปประโยคปฎิเสธ (否定文 / Hiteibun)
ใช้เมื่อต้องการปฏิเสธสิ่งที่พูดหรือหัวเรื่องนั้นๆ โดยการเปลี่ยนจาก です => では ありません (dewa arimasen) ซึ่งเป็นภาษาเขียนในรูปปฏิเสธของ です และ รูปที่ใช้พูดในชีวิตประจำวันนั้นจะเปลี่ยนเป็นคำว่า じゃありません (Ja arimasen) หรือ じゃないです (Ja nai desu) ตัวอย่างเช่น
สรุปหัวใจหลักของรูปประโยคปฏิเสธ
ตัวอย่าง
3) รูปประโยคคำถาม (疑問文 / Gimonbun)
รูปประโยคจะเหมือนกับประโยคบอกเล่า เพียงแค่ใส่คำช่วย か ลงท้ายประโยค ก็จะเปลี่ยนเป็นประโยคคำถามทันที เพื่อใช้ถามว่าใช่หรือไม่ และใช้ถามเมื่อผู้พูดมีความรู้สึกไม่แน่ใจ หรือมีความรู้สึกสงสัย เป็นต้น โดยให้ออกเสียงเป็นเสียงสูงที่ท้ายประโยค ตัวอย่างเช่น
- あなた は 中国人(ちゅうごくじん) ですか。 Anata wa Chuugokujin desu ka. คุณเป็นคนจีนใช่หรือไม่คะ
- はい、中国人(ちゅうごくじん) です。 Hai, Chuugokujin desu. ใช่คะ (ฉัน) เป็นคนจีนคะ
- いいえ、中国人(ちゅうごくじん) ではありません。 Iie, Chuugokujin dewa arimasen. ไม่ใช่คะ (ฉัน) ไม่ใช่คนจีนคะ
หมายเหตุ : 「ですか (desu ka) 」จะวางไว้ท้ายประโยค เพื่อทำให้เป็นประโยคคำถาม
- あなた は 中国人(ちゅうごくじん) ですか。 Anata wa Chuugokujin desu ka. คุณเป็นคนจีนใช่หรือปล่าวครับ
- はい、そうです。 Hai, sou desu. ใช่แล้วครับ (ผมเป็นคนจีนครับ)
- いいえ、日本人(にほんじん)です。 Iie, Nihonjin desu. ไม่ใช่ (ผม) เป็นคนญี่ปุ่นครับ
- いいえ、違(ちが)います。 Iie, chigaimasu. ไม่ใช่ครับ (ผมไม่ใช่คนจีนครับ)
หมายเหตุ : * เมื่อตอบรับ สามารถตอบรับได้ 2 รูปแบบดังนี้
「はい、 คำนาม は คำนาม です。(Hai, คำนามwa คำนามdesu.) 」
「はい、 そうです。(Hai, sou desu.) 」
* เมื่อตอบปฏิเสธ สามารถตอบปฏิเสธได้ 2 รูปแบบดังนี้
「いいえ、 คำนาม は คำนาม ではありません。(Iie, คำนาม wa คำนาม dewa arimasen.) 」
「いいえ、 ちがいます。(Iie, chigaimasu.) 」